อาการดื้อยา
สาเหตุหลักๆของการดื้อยาเกิดจาก?

การติดเชื้อดื้อยาปฎิชีวีนะในโรงพยาบาล ถือเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 10 ในโรงพยาบาลเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือบางรายอาจจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อาการดื้อยา

เชื้อดื้อยา คืออะไร

เชื้อดื้อยา คือเชื้อโรคที่สามารถทนทานต่อฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะที่เคยใช้ได้ผลในการฆ่าเชื้อโรคชนิดนั้นมาก่อน เชื้อดื้อยาเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่พบได้โดยทั่วไป ทั้งบนพื้น ในน้ำ หรือแม้แต่ผิวหนังของเรา โดยเชื้อดื้อยา สามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน หากเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะส่งทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้

ทำไมถึงเกิดการติดเชื้อดื้อยาปฎิชีวนะ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ

  • ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลนาน ๆ
  • ผู้ป่วยที่ได้รับอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน เช่น ท่อช่วยหายใจ สายสวนหลอกเลือด สายสวนปัสสาวะ
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะมากเกินไป หรือหลายชนิด
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ซึ่งหากติดเชื้อดื้อยา อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้การรักษายากขึ้น เช่น ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ ปอดอักเสบติดเชื้อ กระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ ค่าใช้จ่ายมากขึ้น บางรายอาการแย่ลงจนอาจเกิดการเสียชีวิต

รู้ได้ยังไงว่าเราติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

ปกติจะไม่สามารถรู้ได้ว่า มีเชื้อดื้อยาอยู่ในร่างกายหรือไม่ ข้อสังเกตเบื้องต้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วย แต่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะนำเชื้อไปเพาะ เมื่อผลออกมาถึงจะทราบว่า คนไข้อาจติดเชื้อดื้อยา

การสังเกตเบื้องต้น โดยการสังเกตจากพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้

  • ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยและต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ครบตามกำหนดเวลา
  • ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ตรงตามขนานยาที่จะได้รับ
  • ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ
  • ใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์วงกว้างเกินความจำเป็น

แล้วจะหยุดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยังได้อย่างไร

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การทำความสะอาดมือ ล้างมือบ่อย ๆ เพราะเชื้อดื้อยามักอาศัยอยู่บนผิวหนัง หากทำความสะอาดมือบ่อย ๆ ก็จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผ่านการสัมผัสได้

สำหรับคำแนะนำอื่น ๆ เพิ่มเติม

  1. สวมหน้ากากอนามัย
  2. กินอาหารปรุงสุก
  3. ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนกินยาปฏิชีวนะ
  4. ไม่กินยาปฎิชีวนะพร่ำเพรื่อ
  5. มาโรงพยาบาลเมื่อจำเป็น
  6. ไม่ร้องขอให้คุณหมอรับรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

แต่หากมีความจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลจริง ๆ จะทำอย่างไร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาภายในโรงพยาบาล

  1. ควรอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้
  2. ใช้อุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่จัดแยกไว้ให้ เช่น กระโถน หมอน ผ้าห่ม กะละมังเช็ดตัว
  3. เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว ให้แยกลงภาชนะสำหรับใส่ผ้าเปื้อน
  4. ขยะติดเชื้อเปื้อนเลือด น้ำลาย เสมหะ ให้ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้
  5. เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอ มีเสมหะ ให้สวมผ้าปิดปากและจมูก หลังใช้ให้ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อ
ไวอากร้า ยาปลุกอารมณ์หญิง ยาปลุกอารมณ์ชาย ยาปลุกเซ็ก ยาอึด ยาทน ยาแข็ง ppshop15
เคล็ดลับทำไงให้อึด ทน นาน ยืดระยะเวลาความเสียว

หากหนุ่มๆ อยากจะมีความ อึด ทน นาน ขึ้นกว่าเดิมนั้น ก็ต้องย่อมมีการฝึกฝนอย่างมีวินัย หากทำสำเร็จทั้งเราและคนรักก็จะมีความสุขไปด้วยกัน มาพบกับวิธีการเสริมสร้างความอึดให้สุดยอด เพียงแค่ใช้เทคนิคบนเตียง และเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เท่านี้ก็สามารถป้องกัน ปัญหาหลั่งเร็ว เบื้องต้น ในผู้ชายและสร้างความอึดขณะมีเซ็กส์ ให้ทั้งสองฝ่ายได้แล้ว วันนี้ทางเรา PPshop จะมาบอกเลยว่ามี ขั้นตอนอะไรบ้าง ที่จะยืดระยะเวลาความเสียว ให้คุณทั้งสอง ถึง สวรรค์ชั้น 7 กันเลยที่เดียวคร่าาา

เคล็ดลับง่าย ๆ ที่คุณทำตามได้

  1. อย่าละเลยการเล้าโลม ข้อแรกนี้เป็นเคล็ดลับทำไงให้อึดที่สำคัญมาก
    อย่าพุ่งไปฟันเธอเลยทันที ให้ใช้เวลาในการโอบกอดลูบไล้สัมผัสส่วนต่าง ๆ ของเธอด้วย ข้อนี้สำคัญมากเพราะว่า การเล้าโลมกันเริ่มต้นตั้งแต่นอกห้องนอน มันอาจเป็น อะไรก็ได้ที่เป็นการสานสัมพันธ์กัน และอย่าลืมว่าช่วงเวลาหลังฉากรักก็สำคัญพอกัน แทนการกระโดดลุกขึ้นหลังเมคเลิฟ ลองกอดก่ายและเคล้าเคลียกันต่อไปอีกสักนิด จะเพิ่มความสัมพันธ์ของคนรักให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
  2. ให้สาว ๆ คุมเกม
    คนที่เป็นฝ่ายรุกจะสุขและเสียวกว่าคนที่เดินเกมรับ ให้เธออยู่ด้านบนช่วยลดความเสียวของคุณได้ และทำอะไรที่แตกต่างออกไปบ้าง มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้และการทดลอง และถ้ามันทำให้คุณเกิดอารมณ์ได้ไม่ใช่หรือ?
  3. เปลี่ยนจากเสียบเป็นบดแทน
    เปลี่ยนจากการเสียบแล้วซอย เป็นการบดขยี้แทน การบดขยี้จะช่วยลดความเสียวลง ควรทำสัก 1-2 นาที เพื่อให้จิตใจสงบลง ในเวลานั้นคุณต้องผ่อนคลายเสียก่อนที่จะเกิดอารมณ์ได้ ฉะนั้น หาวิธีลดความเครียดด้วยการ บดแทนเพื่อที่จะได้ใช้เวลาด้วยกันอย่างสบายอารมณ์
  4. เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ
    เป็นวิธีที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของคุณได้ เช่น ใช้ ท่ามิชชันนารี สัก 2-3 นาที แล้วค่อยเปลี่ยนเป็น ท่าด๊อกกี้ และจบด้วยท่าโปรดของคุณก็ได้ แต่อย่าเปลี่ยนหลายท่าเกินไป จะทำให้สาว ๆ ไม่เสร็จ
  5. คิดเรื่องหดหู่เอาไว้
    ถ้าอารมณ์คุณเตลิดเปิดเปิง การจินตนาการหรือคิดถึงสาว ๆ สวย ๆ หุ่นเอ็กซ์ ๆ นั้น จะช่วยผลักดันให้เซ็กส์มีพลังมากขึ้น และตื้นเต้นระหว่างปฎิบัติกิจกาม ให้ลองคิดถึงเรื่องงาน เรื่องเรียน เพื่อดึงความสนใจออกไปชั่วคราว จะช่วยลดดีกรีไฟรักให้เบาลงได้ ลองต่อเวลาออกไปด้วยการคิดเรื่องอื่น ๆ บ้างก็ได้ ให้สมองได้งดการปล่อยภาพสาวหุ่นสะบึ้มออกจากความคิดชั่วครู่ วิธีนี้ก็ได้ผลเหมือนกัน
  6. หายใจช้า ๆ ลึก ๆ
    หายใจช้า ๆ ลึก ๆ ให้ท้องป่อง จะช่วยผ่อนคลายทำให้เมคเลิฟได้นานขึ้น หากคุณใกล้จะถึงฝั่งฝันทางอารมณ์แล้ว ให้ลองหายใจ เข้า-ออก ลึก ๆ ช้า ๆ แล้วลดสปีดการออกลีลาท่าทางไปตามจังหวะการหายใจของคุณด้วย วิธีนี้สามารถ แก้หลั่งเร็ว ช่วยต่อเวลาออกไปได้อยู่นานพอสมควรเลยทีเดียว ง่าย ๆ แค่นี้เอง และเผลอ ๆ ฝ่ายสาวเองอาจจะมีความสุขเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเลยด้วย

เคล็ดลับทำไงให้อึด ทน นาน ข้างต้นถ้าคุณทำอย่างสม่ำเสมอแล้วละก็รับรองเลยได้เลยว่า สาว ๆ จะติดใจในลีลารัก ของคุณจนไม่อยากจะไปไหนกันเลย และ หนุ่ม ๆ หรือ สาวๆ อย่าลืมหาตัวช่วยดี ๆ อย่างผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม ยาสมุนไพร ท่านชายและท่านหญิง ติดตัวเอาไว้ด้วย เพราะ อาหารเสริม ไวอากร้า อัดแน่นไปด้วยสมุนไพรและวัตถุดิบพรีเมี่ยมกว่า 30 ชนิด มีส่วนช่วยบำรุงสมรรถภาพ เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย พร้อมเสริมความทนทานของกล้ามเนื้อ ฟื้นตัวต่อรอบใหม่ได้ง่ายขึ้น ไม่จอดตั้งแต่ยกแรกแน่นอนคร่าาา

ไวอากร้า ยาปลุกอารมณ์หญิง ยาปลุกอารมณ์ชาย ยาปลุกเซ็ก ยาอึด ยาทน ยาแข็ง ppshop15
โรคอ้วน
โรคอ้วนเกิดจากอะไรกันแน่

เกิดจากร่างกายมีการสะสมไขมันใต้ชั้นผิวหนังมากกว่าปกติ ซึ่งจะคิดตามน้ำหนักตัว คำนวนโดยใช้ดัชนีมวลกาย (BMI)

BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม/(ส่วนสูงเป็นเมตร)ยกกำลังสอง มีหน่วยเป็น kg/m2

หากมีค่า BMI มากกว่า 25 kg/m2 จัดว่าเป็นโรคอ้วน

แต่หากเจ้าไขมันที่สะสมตามร่างกายนี้ส่งผลถึงระบบอวัยวะภายในร่างกาย จะเรียกว่า โรคอ้วนลงพุง ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

มีภาวะอ้วน โดยวัดจากเส้นรอบเอว ในผู้หญิงตั้งแต่ 80 เซ็นติเมตร ส่วน ผู้ชายตั้งแต่ 90 เซ็นติเมตร ร่วมกับมีภาวะมากกว่า 2ใน4ข้อดังต่อไปนี้

  1. ความดันโลหิตสูงมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
  2. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  4. ระดับไขมันดี (HDL) ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ชาย และต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง

โรคอ้วนที่ไม่ควรมองข้าม

แพ็คเกจเหล่านี้นั่นเองที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง ซึ่งหาไม่ได้จากการอยู่นิ่งเฉยหรือจากกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่ถูกซ้ำเติมด้วยการกินอยู่อย่างเร่งรีบและไม่ไตร่ตรองในโลกยุคปัจจุบันทันด่วนนี้ ซึ่งโรคอ้วนลงพุง เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไขมันสะสมที่หน้าท้องและมีรอบเอวขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีระดับความดันโลหิต มีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่2 โรคไขมันเกาะตับ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้มากขึ้น ซึ่งโรคร้ายแรงเหล่านั้น จัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ติดอันดับของสาเหตุการเสียชีวิต10อันดับแรกที่จัดโดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ของประเทศไทย

โรคอ้วน

โดยอุบัติการณ์การเกิดโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ทั้งนี้เนื่องมาจากการบริโภคที่เกินความจำเป็นและไม่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้น หากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงควรป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน โดยการรับประทานอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน

นอกจากนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุงได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีโรคอ้วนลงพุงหรือเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2, ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) หรือผู้ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หากมีภาวะเหล่านี้ ควรป้องกันและระมัดระวังเป็นพิเศษ

แต่หากได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอ้วนลงพุงแล้ว เป้าหมายของการรักษา คือ การลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ด้วยการลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ซึ่งอาจปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

  1. ปรับวิธีการรับประทานอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆที่เต็มไปด้วยผงชูรสและเกลือปริมาณมาก
  2. ลดน้ำหนัก และควบคุมให้น้ำหนักอยู่ในช่วงดัชนีมวลกาย 18.5-24.9 kg/m2
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายและการใช้พลังงาน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย ควรออกกำลังกายชนิด แอโรบิก ( aerobic exercise ) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก อย่างต่อเนื่อง30นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 150นาทีต่อสัปดาห์
  4. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ด้วยการงดสารเสพย์ติดต่างๆรวมทั้งบุหรี่

หากปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแล้วไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า

ร้อนใน
เป็นร้อนในรักษายังไง ใช้ยาอะไรดี

แผลร้อนในที่ปากไม่ใช่เรื่องตลกจริงไหมทุกคน ยิ่งเป็นนาน ๆ เข้ามันก็กระทบต่อชีวิตประจำวัน ยิ่งอย่างตัวผู้เขียนเอง ความสุขของชีวิตนั้นก็คือการกินอาหารที่อร่อยนั่นเอง เป็นร้อนในขึ้นมาทีก็ทำให้เราเคี้ยวอาหารลำบาก กินของเผ็ดของร้อนก็ไม่ได้ เรียกได้ว่าแซดกันเลยทีเดียว วันนี้เภสัชกรเลยชวนมาดูวิธีทำให้เราหายจากแผลร้อนอย่างได้ผล จะได้กลับไปกินของอร่อยได้ต่ออย่างมีความสุข

ร้อนใน

แผลร้อนในเป็นยังไง

แผลร้อนในจะเกิดบริเวณในช่องปาก คือ เพดานปาก ลิ้น ข้างแก้ม ริมฝีปากแผลอาจมีขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ ตัวแผลมีลักษณะกลม ๆ สีเหลืองเทา รอบแผลเป็นรอยแดง สัมผัสโดนแล้วเจ็บปวด โดยแผลร้อนในนี้อาจเกิดเป็นแผลเดียวหรือเป็นหลายแผลพร้อมกันก็ได้

วิธีรักษาแผลร้อนใน

ยาเหล่านี้สามารถใช้ในการรักษาอาการแผลร้อนในได้ ซึ่งตัวยาแต่ละชนิดมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ยาชนิดขี้ผึ้งป้ายปากที่มีส่วนผสมของ Steroid สามารถช่วยลดการอักเสบของแผลได้
1. Triamcinolone acetonide 0.1% : ป้ายบริเวณแผลวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน นาน 1-2 สัปดาห์
2. Fluocinolone acetonide 0.1% : ป้ายบริเวณแผลวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน นาน 1-2 สัปดาห์
3. Dexamethasone 0.05% : ป้ายบริเวณแผลวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน นาน 1-2 สัปดาห์

น้ำยาบ้วนปาก

น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ

1. Chlorhexidine : ใช้บ้วนปากวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น

น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของตัวยาแก้อักเสบ

2. Benzydamine : ใช้บ้วนปากวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น

คำแนะนำเพิ่มเติม

ใครที่เป็นแผลร้อนในอยู่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารร้อนจัด อาหารเผ็ด และอาหารทอด เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะทำให้แผลอักเสบมากขึ้น

ทั้งหมดก็เป็นวิธีรักษาแผลร้อนในปากที่เภสัชกรนำมาฝากในวันนี้ หากใช้ยาเหล่านี้แล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แนะนำให้ไปหาคุณหมอเพื่อให้ตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม ใครที่เป็นทุกข์เพราะร้อนในเภสัชขอให้หายเร็ว ๆ เมื่อเราหายดีแล้วจะได้กลับมากินของอร่อยกันต่อได้อย่างมีความสุขนะครับ

ประโชยน์ยา
ประโยชน์ของการใช้ยา มีอะไรบ้างมาดูกัน

ยา แม้สามารถใช้รักษาทำให้หายป่วยและร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอคือ ยาทั้งหลายล้วนแล้ว แต่มีอันตรายเฉกเช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ฉะนั้น ทำอย่างไรจึงปลอดภัยจากการใช้ยา…

ประโยชน์ของยา มาจากฤทธิ์ของยาตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาการติดเชื้อ บรรเทาอาการ ปวดหรือ ลดไข้ ซึ่งทราบได้จากสรรพคุณหรือข้อบ่งใช้ของแต่ละตัวยา

อันตรายจากยา ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน เริ่มจากอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงของยา ซึ่งมีทั้งที่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับหรือง่วงนอน จนกระทั่งรุนแรงถึงแก่ชีวิต เช่น การทำลายตับ หรือทำให้เกิดอาการ หายใจไม่ ออก เป็นต้น อันตรายจากยายังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ( drug interaction ) ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริม (เช่น วิตามิน หรือ สมุนไพร) ที่รับประทานระหว่างการใช้ยา โดยอาจส่งผลให้ยาที่รับประทานบางชนิดมีประสิทธิภาพลดลงหรือออกฤทธิ์รุนแรงเกินไป เกิดผลข้างเคียงนอกเหนือความคาดหมาย หรืออาจเกิดสารเคมีตัวใหม่ที่มีอันตรายสูง

ประโชยน์ยา

การใช้ยา

แม้ว่า การใช้ยามีอันตรายควบคู่ไปกับคุณประโยชน์ก็ตาม แต่ท่านสามารถที่จะปฏิบัติตนเพื่อ ลดอันตรายจากการใช้ยา ได้อย่าง ไม่ยาก ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจะคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับ การใช้ “ ยา ” อย่างปลอดภัย คือ การทำให้ความเสี่ยงจากการใช้ยาลดลงและได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด มี 5 ประการ ได้แก่

1. คุยกับแพทย์ เภสัชกร บอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่านเองให้มากที่สุด เช่น

  • ท่านมีประวัติการแพ้ยาอะไรหรือไม่
  • รับประทานยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ อยู่หรือไม่ อะไรบ้าง
  • ข้อจำกัดบางประการต่อใช้ยา (เช่น มีปัญหาการกลืนยา หรือ ต้องทำงานกับเครื่องจักรที่เป็นอันตรายไม่สามารถทานยา ที่ทำให้ง่วงได้)
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร (กรณีของผู้หญิง)
    นอกจากนั้นหากท่านสงสัยหรือไม่เข้าใจเรื่องอะไร ควรสอบถามให้ละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างผิดๆ

2. ทำความรู้จักยาที่ใช้ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่าย หรือที่ซื้อเองจากร้านขายยา เช่น

  • ชื่อสามัญทางยา เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน และได้รับยาเกินขนาด
  • ชื่อทางการค้าของยา
  • ลักษณะทางกายภาพของยา เช่น สี กลิ่น รูปร่าง เป็นต้น เมื่อสภาพของยาเปลี่ยนแปลงไป เช่น สีเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยง การใช้ยาดังกล่าว เพราะอาจก่อให้เกิด อันตรายได้
  • ข้อกำหนดการใช้ยา เช่น รับประทานอย่างไร เวลาใด จำนวนเท่าไร และควรรับประทานนานแค่ไหน
  • ภายใต้สถานการณ์ใด ที่ควรหยุดใช้ยาทันที
  • ผลข้างเคียงของยาหรือปฏิกิริยาของยาที่ควรระวัง

3. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

  • ทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับยาจากฉลากยา ควรอ่านฉลากยาอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนการใช้ยา เพื่อความมั่นใจ ว่ารับประทาน ยาถูกต้อง หากไม่เข้าใจประการ ใดควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญ
  • เก็บยาในที่ที่เหมาะสมตามที่ระบุในฉลาก
  • ห้ามเก็บยาต่างชนิดกันในภาชนะเดียวกัน และไม่ควรเก็บยาสำหรับใช้ภายในและ ยาสำหรับใช้ภายนอกไว้ใกล้เคียงกัน

4. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา

  • ระลึกถึง และหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัด ต่อการรับประทานยา อาหารหรือเครื่องดื่มที่ ทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทาน ซึ่งทำให้เกิดผลเบี่ยงเบนการออกฤทธิ์และ เพิ่มอันตรายจากยาได้
  • หากเป็นไปได้ ทุกครั้งที่ท่านต้องมีการรับประทานยาใหม่ๆ เพิ่มเติม ควรได้นำยาเดิมที่ รับประทานอยู่ไปแสดงให้แพทย์ หรือเภสัชกร ได้ตรวจสอบให้ด้วยว่า มียาใดที่ซ้ำซ้อน หรือทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ เพื่อที่จะได้จัดยาให้ร่วมรับประทาน ได้เหมาะสม

5. สังเกตตัวเองต่อผลของยาและอาการข้างเคียงจากการใช้ยา

  • สังเกตว่าผลของยาเป็นไปตามแผนการใช้ยาหรือไม่ หากไม่เป็นเช่นนั้น ควรไปหา แพทย์ หรือเภสัชกรอีกครั้ง เพื่อประเมินและ ปรับการรักษา
  • ให้ความสำคัญกับอาการต่างๆ ของร่างกาย หากมีสิ่งใดผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
  • สอบถามล่วงหน้าว่า ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือสอบถามข้อมูลบางอย่างเพื่อลดอาการข้างเคียง เช่น ควรรับประทานยาหลัง รับประทานอาหารทันทีเพื่อลดอาการปวดท้อง

ที่สำคัญ ท่านควรระลึกไว้เสมอว่า การที่ท่านมีส่วนร่วมกับแพทย์ เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญ ในการปฏิบัติตามวิธีที่ถูกต้อง ในการใช้ยาของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิด จะทำให้ท่านมีความปลอดภัยในการใช้ยามากยิ่งขึ้น และนำมาสู่ความสำเร็จในการรักษาโรค

ยาแผนโบราณ
ยาแผนโบราณคือยาอะไร มาดูกันเลย

ยาแผนโบราณ หรือ ยาพื้นบ้าน, ยาสมุนไพร, ยาผีบอก (Traditional drug) หมายถึง ยาที่มุ่ง หมายสําหรับใช้ในการประกอบ โรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบําบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตําราแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตํารับยาเป็นแผนโบราณ หรือคือการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ โดยอาศัยความรู้จากตําราหรือการเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา ขาย หรือนำเข้ายาแผนโบราณ นอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่งตรงต่อผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ

รูปแบบของยาแผนโบราณ

ยาแผนโบราณ เป็นการนำเอาสมุนไพร (จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่) มาผสม ปรุง หรือแปรสภาพ สมุนไพรที่ถูกแปรรูปเป็นยาแผนโบราณจะมีทั้งที่อยู่ในรูปยาน้ำ ยาเม็ด หรือแคปซูล ที่เห็นกันเจนตาคือ อยู่ในรูปของยาลูกกลอนและยาผง

ประเภทของยาแผนโบราณ

ประเภทของยาแผนโบราณ ได้แก่

ก. ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ได้แก่ ตำรับยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งจะมี ชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาดบรรจุ เช่น ยาประสะกระเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาแสงหมึก ยาประสะกานพลู ฯลฯ

ข. ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ตำรับยาแผนไทยและสมุนไพรที่มีการพัฒนาที่ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้คัดเลือกยาแผนไทยและสมุนไพรที่มีข้อมูลการใช้ หรือมีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุน ได้แก่ ยาประสะมะแว้ง ยาแก้ไข้ (ยาห้าราก) ยาประสะไพล ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร พญายอ และไพล

ค. ยาสมุนไพรที่ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ สมุนไพรที่มีการวิจัยแล้วว่าให้ผลในการรักษาและมีความปลอดภัย พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นแผนโบราณ

ยาแผนโบราณ

ปัญหายาแผนโบราณที่พบในปัจจุบัน

แม้ว่าจะมีกฎหมายและหน่วยงานที่คอยควบคุมการผลิตและการขายยาแผนโบราณเพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้ยาแผนโบราณ แต่ก็ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบผลิตและขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้ขออนุญาตผลิตและขายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การขายยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม

อันตรายจากการรับประทานยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม

ในปัจจุบันพบว่า มียาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือการนำสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริ โภคมาใส่ในยาแผนโบราณ เช่น

  • เมธิลแอลกฮอล์ (Methyl-alcohol) ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์เช่น สีทาไม้, น้ำมันเคลือบเงา ฯลฯ
  • คลอโรฟอร์ม (Chloroform) ใช้เป็นตัวทำละลายสารโพลีคาร์บอเนตและอื่นๆ
    การใส่ยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน เช่น อินโดเมทาซิน (Indomethazine) หรือแม้แต่การนำยาเฟนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเป็นยาแก้ปวด แต่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร
  • และสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษซึ่งมีผลข้างเคียงสูง ผสมลงในยาแผนโบราณเพื่อให้เกิดผลในการรักษาที่รวดเร็ว แต่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคคือทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ เป็นต้น
วิธีเลือกซื้อยาแผนโบราณ

เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาแผนโบราณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้แนะนำวิธีการเลือกซื้อยาแผนโบราณ ดังนี้

  1. ควรซื้อยาแผนโบราณจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตและที่มีเลขทะเบียนตำรับยา
  2. ไม่ควรซื้อยาแผนโบราณจากรถเร่ขาย เพราะอาจได้รับยาที่ผลิตขึ้นโดยผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในระหว่างการผลิต อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริ โภคได้
  3. ก่อนซื้อยาแผนโบราณ ควรตรวจดูฉลากยาทุกครั้งว่า มีข้อความดังกล่าวนี้หรือไม่
  • ชื่อยา
  • เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนยา
  • ปริมาณของยาที่บรรจุ
  • เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
  • ชื่อผู้ผลิตและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยา
  • วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา
  • มีคำว่า “ยาแผนโบราณ” ให้เห็นได้ชัดเจน
  • มีคำว่า “ยาใช้ภายนอก” หรือ “ยาใช้เฉพาะที่” แล้วแต่กรณีด้วยอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน ในกรณีเป็นยาใช้ภายนอก หรือยาใช้เฉพาะที่
  • มีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน
  • คำว่า “ยาสำหรับสัตว์” ในกรณีเป็นยาสำหรับสัตว์

ยาแผนโบราณนั้นสามารถใช้รักษาโรคทั่วไปที่ไม่ร้ายแรง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ร้อนใน ฯลฯ และการรักษาอาการพื้นฐานที่ไม่รุนแรง ไม่เรื้อรัง เช่น ท้องเสีย/ท้องร่วง ปวดหัว/ปวดศีรษะ ตัวร้อน /เป็นไข้ ผื่นคัน เป็นต้น